วันอังคารที่ 16 สิงหาคม พ.ศ. 2559

NORTH BRIDGE & SOUTH BRIDGE


North Bridge  คือ ชิพที่ทำหน้าที่ควบคุมการรับส่งข้อมูลของบนเมนบอร์ดควบคุมเชื่อมต่อกับหน่อยความจำ north bridge จะติดกับ cpu  และจะติดต่อกับอุปกรณ์ที่มีความเร็วสูงทั้งหมด ซึ่งได้แก่ cpu ram

South Bridge คือ ชิพที่จัดการเกี่ยวกับการรับ-ส่งข้อมูลภายนอก เช่น USB  และจะติดต่อกับอุปกรณ์ต่อพวงจำพวก ฮาร์ดดิส ซีดีรอมไดร์ฟ และยังควบคุมสล็อตของการ์ดจออื่นๆ ดิสก์ไดรว์ต่างๆรวมถึงอุปกรณ์พ่วงทั้งหมด



วันอังคารที่ 7 มิถุนายน พ.ศ. 2559

คอมพิวเตอร์ทำงานอย่างไร

คอมพิวเตอร์ทำงานอย่างไร
    หากจะตอบแบบทั่วๆไปก็คงจะเป็นการเสียบปลั๊กแล้วกดปุ่มเพาว์เว่อร์ จากนั้นให้กดปุ่มสวิทช์ที่หน้าจอ เพียงเท่านี้คอมพิวเตอร์ก็ทำงานได้แล้ว แต่หากพูดถึงกันอย่างละเอียดมากขึ้นว่า การที่คอมพิวเตอร์จะทำงานได้นั้น ต้องผ่านการทำงาน อะไร ยังไงบ้าง จึงจะสามารถแสดงผลออกมาได้
    การทำงานของคอมพิวเตอร์นั้นเริ่มจากการรับคำสั่งจากผู้ใช้คีย์บอร์ดและเมาส์ โดยผ่านระบบปฏิบัติการ (Windows) แล้วจะทำการส่งสัญญาณไปที่ซีพียู(CPU : Central Processing Unit) เพื่อดึงข้อมูลจากฮาร์ดดิสก์ (Harddisk)หรือไดรว์(Drive)ที่ต้องการ โดยขั้นต้นนั้นจะนำข้อมูลมูลนี้ไปเก็บไว้ในหน่วยความจำ(RAM : Random Access Memory)ก่อน หลังจากนั้นจากนั้นซีพียู(CPU : Central Processing Unit)จะดึงข้อมูลจากหน่วยความจำ(RAM : Random Access Memory) ออกมาประมวลผลและเมื่อซีพียูประมวลผลเสร็จเล้วก็จะทำการส่งข้อมูลไปเก็บไว้ที่หน่วยความจำเพื่อรอการบันทึกลงฮาร์ดดิสก์หรือไดรว์ต่างๆ  จากนั้นก็จะทำการแสดงผลโดยทำการส่งข้อมูลไปยังการ์ดจอ(Graphic Card) เพื่อทำการแปลงข้อมูลให้เป็นสัญญาณภาพออกมาทางหน้าจอ(Monitor) 
     ซึ่งกระบวนการเหล่านี้ก็ คือหลักการทำงานของคอมพิวเตอร์สามารถแบ่งออกเป็น3ส่วนหลักๆได้คือ
     1.หน่วยรับข้อมูลเข้า (INput Unit) เป็นอุปกรณ์ที่รับและส่งข้อมูลเข้าไปในระบบคอมพิวเตอร์เช่นแป้นพิมพ์, เมาส์,ไมโครโฟน เป็นต้น


      2.หน่วยประมวลผลกลาง (Central Processing Unit = CUP) เปรียบเสมือนสมองของ คอมพิวเตอร์ เพราะทำหน้าที่คิดคำนวณและประมวลผลชุดคำสั่ง ๆที่เราสั่งเข้าไป


ผลการค้นหารูปภาพสำหรับ ซีพียู

      3.หน่วยแสดงผลข้อมูล (Output Unit) ทำหน้าที่แสดงผลลัพธ์ได้จากการประมวลผล
ต่างๆ โดยอาจจะแสดงออกมา เช่น
ผลการค้นหารูปภาพสำหรับ ลําโพง


ผลการค้นหารูปภาพสำหรับ จอภาพจอภาพ , เครื่องพิมพ์ , ลำโพง เป็นต้น

  













การทำงานของ เมนบอร์ด

              

                                                        การทำงานของ เมนบอร์ด


 เมนบอร์ด (Mainboard) คือ ศูนย์กลางของการเชื่อมต่อสำหรับอุปกรณ์ภายในเครื่องคอมพิวเตอร์ มีชิปเซตที่ทำหน้าที่รับ/ส่งข้อมูลของอุปกรณ์ต่างๆ อีกขั้นหนึ่ง เมนบอร์ด (Mainboard)นิยมใช้มาตรฐานการออกแบบ ATX (Advance Technology Extension) ปรับปรุงจากระบบเก่าที่เป็นแบบ Body AT โดยแบบใหม่จะมีการปรับปรุงบริเวณ ซีพียู(CPU)โดยจะย้ายไปไกลพัดลมของแหล่งจ่ายไฟ(Power Supply) ทำให้สามารถระบายความร้อนได้ดีและรวดเร็วยิ่งขึ้น  ซึ่งมีเทคโนโลยีเข้ามาในการเพิมประสิทธิภาพให้ดียิ่งขึ้น  มีสีสันที่สวยงามโดยเฉพาะคนที่ชอบแต่งเครื่องของตัวเองจะเลือกสีสันที่มีความสวยงาม


มารู้จักส่วนประกอบของเมนบอร์ด

1.ซ็อกเก็ตซีพียู




ซ็อกเก็ตซีพียู เป็นที่ติดตั้งของตัวซีพียูเองจะมีลักษณะตามรุ่นตามยี่ห้อ หรือตามซีพียูที่เราจะใส่  ดังนั้นเราควรที่จะเลือกให้ตรงกันด้วย


2. พอร์ตที่ใช้ในการเชื่อมต่อ
ทางด้านหลังของเครื่องคอมพิวเตอร์นั้นจะมีพอร์ตที่ใช้ในการเชื่อมต่ออุปกรณ์ต่างๆ  ที่อยู่ภายนอก  ซึ่งแต่ล่ะพอร์ตจะมีรูเสียบเฉพาะของอุปกรณ์ที่ต่อนั้นจะไม่ค่อยต่อผิดกัน มาดูตัวอย่างกันว่าแต่ล่ะพอร์ตนั้นใช้ต่อกับอะไรบ้าง1 .PS/2 เป็นพอร์ตไว้สำหรับการเชื่อมต่อ เมาส์และคีย์บอร์ด  โดยทั่วไปแล้วเมาส์จะเป็นสีเขียว  และคีย์บอร์ดจะเป็นสีม่วง ซึ่งในปัจจุบันนี้จะมีการเปลี่ยนมาใช้ USB แต่ก็ยังมี PS/2 มีใช้อยู่เป็นจำนวนมาก


2. Firewire เป็นพอร์ตการเชื่อมต่อที่มีลักษณะคล้ายกับ USB ซึ่งมีอัตราความเร็วกว่า  ด้วยมาตรฐาน IEEE 1394a มีอัตราการเชื่อมต่อรับ/ส่งข้อมูล  400MB/s อุปกรณ์ที่มีการเชื่อมต่อเช่น ฮาร์ดดิสก์แบบภายนอก
3.eSATA เป็นการเชื่อมสำหรับ ฮาร์ดดิสก์แบบภายนอก เช่นกัน
4. USB เป็นการเชื่อมต่อภายนอกแบบต่างๆ  แล้วจะมีพอร์ตนี้มากเป็นพิเศษเพราะว่ามีอุปกรณ์ที่เชื่อมต่อได้หลากหลาย  อย่างเช่นเครื่องพิมพ์ เมาส์ และอื่นๆอีก รวมถึงเฟรตไดร์ฟด้วย สำหรับความเร็วแล้วอยู่ที่ 480MB/s
5.LAN ช่องการเชื่อมต่อแลน  ใช้สำหรับการเชื่อมต่อเครือข่ายที่อยู่ในระบบ
6. ช่องต่อเสียง ไว้สำหรับการเชื่อมต่อเสียง ทั้งเสียง Input และ Output ทั้งลำโพง  ทั้งไมค์
3.สล็อต AGP
ใช้สำหรับการเชื่อมต่อของการ์ดแสดงผล  มีทั้ง AGP และ PCI Express  เพื่อเชื่อมต่อให้กับมอนิเตอร์ใช้ในการแสดงผล


4.สล็อต PCI
ใช้สำหรับการเชื่อมต่อการ์ดต่างๆที่ไม่ต้องการความเร็วสูงมากนัก เช่นการ์ดเสียง  การ์ดแลน และโมเด็มใช้สำหรับการเชื่อมต่อ

5.ตัวอ่านแผ่นดิสก์
ซึ่งปัจจุบันไม่ได้ใช้แล้วแต่ให้สำหรับการเชื่อมต่อ Memory Card ต่างๆ แต่ต้องชื้อตัวมาเพิ่ม

6.ซิปเซต
เป็นมีความสำคัญ เพราะทำหน้าที่ควบคุมการทำงานต่างๆบนเมนบอร์ดโดยจะมีซิปเซตอยู่ 2 ส่วนด้วยกันคือ
-   North  Bridge จะทำหน้าที่คอบควบคุม ซีพียู แรม และการ์ดแสดงผล
-   South  Bridge  จะทำหน้าที่ควบคุมสล็อตต่างๆ

7.หัวต่อ SATA
ซึ่งใช้ในการเชื่อมต่อฮาร์ดดิสก์  แบบ SATA ซึ่งเป็นการเชื่อมต่อแบบอนุกรม  ซึ่งมีข้อดีทั้งประหยัดพลังงานและประหยัดพื้นที่  อีกทั้งยังทำให้ระบายความร้อนภายในเคสได้ดีอีกด้วย

8.หัวต่อแบบ IDE
ใช้ในการเชื่อมต่อแบบ IDE ทั้งแบบที่เป็นฮาร์ดดิสก์ และ CD/DVD ROM



9.ต่อแหที่ใช้สำหรับในการต่อแหล่งกระแสไฟฟ้า  
              จากพาวเวอร์ซับพราย  โดยจะมีทั้งรุ่นเดิมที่ใช้ 20 Pin และในปัจจุบัน 24 Pin โดยจะมีทั้งหมด อยู่ 2 แถวล่งจ่ายไฟ




10.ซ็อกเก็ตแรม
โดยใช้สำหรับใส่แรม โดยมีทั้งแบบ Dual Channel และ Triple Channel



11.ตัวเชื่อมปุ่มควบคุม
ใช้ในการเชื่อมต่อปุ่ม Power ปุ่ม รีสตาร์    และแสดง ไฟของการทำงานฮาร์ดดิสก์ และไฟขณะทำงาน
12.ตัวต่อ USB
ใช้ในการเชื่อมต่อ USB ภายในเคส  เพื่อเพิ่มในการเชื่อมต่อ USB ที่มากขึ้น




ประเภทของเมนบอร์ด

แบบ ATX, Micro ATX และ Flex ATX

         เมนบอร์ดแบบ ATX นั้นถือได้ว่าเป็นมาตรฐานที่มีใช้กันมานานและได้รับความนิยมอย่างสูงตั่งแต่อดีตจนถึงปัจจุบัน ซึ่งก็ได้รับการพัฒนาให้มีขนาดเล็กลงเพื่อให้
เหมาะสมกับเคสขนาดเล็กที่จะช่วยให้ประหยัดพื้นที่และค่าใช้จ่าย โดยลดจำนวนบางอย่างเช่น PCI Slot บนเมนบบอร์ดลงไปพร้อมกับนำเอาอุปกรณ์บางอย่างเช่น
การ์ดเสียง มาบรรจุลงบนตัวเมนบอร์ดอยู่ในรูปแบบของชิปเสียงทำให้กลายเป็นเมนบอร์ดขนาดกะทัดรัดที่มีคุณสมบัติต่างครบถ้วน เช่น เมนบอร์ดแบบ Micro ATX
และ Flex ATX
เมนบอร์ดแบบ ATX
        เป็นเมนบอร์ดที่ได้รับความนิยมอย่างสูงโดยทั่วไปจะมีสล็อตแบบ PCI 5-6 สล็อต , AGP 1 สล็อต และช่องเสียบ RAM ขึ้นอยู่แต่ละ ยี่ห้อ เป็นต้น รวมถึงคอนเน็กเตอร์ต่างๆก็แยกเป็นสีติดอยู่กับตัว เมนบอร์ดทางด้านหลังเลย
เมนบอร์ดแบบ Flex ATX
        เป็นเมนบอร์ดสำหรับเครื่องขนาดเล็กกะทัดรัด ทำให้ประหยัดเนื้อที่บนโต๊ะ โดยลดลงจำนวนสล็อต PCI ลงอีกจนเหลือเพียงแค่ 2-3 สล็อตเท่านั้น อุปกรณ์ที่ใช้แทบ
ทุกอย่างจะเป็นแบบออนบอร์ด ปัจจุบันจะเป็นที่นิยมใช้กันมากตามบริษัทหรือหน่วยงานเอกชนต่างๆที่ต้องการประหยัดพื้นที่ในการทำงาน
 เมนบอร์ดแบบ BTX
       BTX (Balanced Technology Extended) เป็น Form Factor หรือรูปแบบของเมนบอร์ด มาตรฐานใหม่ของ อินเทลที่กำลังจะออกมาในเร็วๆนี้ซึ่งนอกจากจะประกอบด้วย Socket T หรือ LGA 755 แบบใหม่สำหรับซีพีอยู่ในตระกูล Prescott แล้ว ก็ยังพ่วงเทคโนโลยีใหม่เช่นการใช้หน่วยความจำ DDR II และสล็อตแบบ PCI Express ซึ่งทุกออกแบบมา แทนสล็อตเดิมๆแบบ PCI และ AGP โดย PCI Express x1 ( ที่มาแทนที่ PCI เดิม ) จะมีอัตราการรับส่งข้อมูลที่สูงถึง
250 MB/s ในแบบทิศทางเดียว (Half-Duplex) หรือ 500MB/s ในแบบสองทิศทาง (Half-Duplex) ขณะที่ PCI Slot เดิมนั้นมีอัตราการรับส่งข้อมูลเพียง
132 MB/s เท่านั้น ส่วน PCI Express x16( ที่ออกแบบให้มาแทน AGP 8x ในปัจจุบัน ) จะมีอัตรารับส่งข้อมูลถึง 4 GB/s เท่านั้น (Half-Duplex) หรือ
8 GB/s(Full-Duplex) ขณะที่ AGP 8x เดิมนั้นมีอัตราการรับส่งข้อมูลเพียง 2GB/s เท่านั้น

เมนบอร์ดแบบ BTX 
       ได้ปรับปรุงการระบายความร้อนภายในตัวเครื่องรวมถึงซีพียูด้วยโดยแยกจุดที่เกิดความร้อนสุงออกจากัน และเพิ่มตัวกระจายความร้อน (Thermal Module) ซึ่งอาจมีตัวยืดกับเคสหรือ SRM (Support and retention Module) ด้วย


Form Factor แบบ BTX นี้ทั้งหมด 3 แบบคือ

Standard BTX ขนาด 12.8”x10.5” จะมีสล็อต PCI 32 บิตแบบเดิมอยู่ประมาณ 4 สล็อต , PCI Express x1 มี 2 PCI สล็อด
และ PCI Express x16 อิก 1 สล็อด
Micro BTX ขนาด 10.4” x10.5” จะมี PCI Slot 32 บิตแบบเดิมอยู่ 1 สล็อด , PCI Express x1 มี 2 สล็อด และ PCI Express x16
อิก 1 สล็อด
Pico BTX ซึ่งจะมีแต่ PCI Express x1 และ x16 อย่างละหนึ่งสล็อดเท่านั้น




วันอังคารที่ 24 พฤษภาคม พ.ศ. 2559

ประวัติความเป็นมาของเครื่องคอมพิวเตอร์

   พัฒนาการทางด้านเทคโนโลยีในช่วง 100 ปีที่ผ่านมาได้พัฒนาอย่างรวดเร็ว โดยเฉพาะเทคโนโลยีทางด้าน คอมพิวเตอร์ เมื่อ 50 ปีที่แล้วมา มีคอมพิวเตอร์ขึ้นใช้งาน ต่อมาเกิดระบบสื่อสารโทรคมนาคมสมัยใหม่เกิดขึ้นหลากหลาย และมีแนวโน้มที่จะมีการพัฒนาอย่างต่อเนื่อง เราสามารถแบ่งพัฒนาการคอมพิวเตอร์จากอดีตสู่ปัจจุบัน สามารถแบ่งเป็นยุคก่อนการใช้ไฟฟ้าอิเล็กทรอนิคส์ และยุคที่เครื่องคอมพิวเตอร์เป็นอุปกรณ์ไฟฟ้าอิเล็กทรอนิคส์ คอมพิวเตอร์ในยุคเริ่มแรก ได้แก่ เครื่องจักรกลหรือสิ่งประดิษฐ์ขึ้นเพื่อช่วยในการ คำนวณ โดยที่ยังไม่มีการ นำวงจรอิเล็กทรอนิกส์ เข้ามาใช้ประโยชน์ด้วย ลำดับเครื่องมือขึ้นมามีดังนี้ ในระยะ 5,000 ปีที่ผ่านมา มนุษย์เริ่มรู้จักการใช้นิ้วมือและนิ้วเท้าของตนเพื่อช่วยในการคำนวณ และพัฒนา มาใช้อุปกรณ์อื่น ๆ เช่น ลูกหิน ใช้เชือกร้อยลูกหินคล้ายลูกคิด
 ต่อมาประมาณ 2,600 ปีก่อนคริสตกาล ชาวจีนได้ประดิษฐ์เครื่องมือเพื่อใช้ในการ คำนวณขึ้นมาชนิดหนึ่ง เรียกว่า ลูกคิด ถือได้ว่า เป็นอุปกรณ์ใช้ช่วยการคำนวณที่เก่าแก่ที่สุดในโลกและคงยังใช้งานมาจนถึงปัจจุบัน
   พ.ศ. 2158 นักคณิตศาสตร์ชาวสก็อตแลนด์ชื่อ John Napier ได้ประดิษฐ์อุปกรณ์ใช้ ช่วยการคำนวณขึ้นมา เรียกว่า Napier's Bones
   พ.ศ 2185 นักคณิตศาสตร์ชาวฝรั่งเศลชื่อ Blaise Pascal ซึ่งในขณะนั้นมีอายุเพียง 19 ปี ได้ออกแบบ เครื่องมือในการคำนวณโดย ใช้หลักการหมุนของฟันเฟืองหนึ่งอันถูกหมุนครบ 1 รอบ
   พ.ศ. 2216 นักปราชญ์ชาวเยอรมันชื่อ Gottfriend von Leibnitz ได้ปรับปรุงเครื่องคำนวณของ ปาสคาลให้สามารถทำให้การคูณและหารได้โดยตรงแต่เครื่องมือของ Leibnitz ยังคงอาศัยการหมุนวงล้อ ของเครื่องเองอัตโนมัติ
   พ.ศ. 2344 นักประดิษฐ์ชาวฝรั่งเศสชื่อ Joseph Marie Jacquard ได้พยายามพัฒนาเครื่องทอผ้าโดยใช้ บัตรเจาะรูในการบันทึกคำสั่ง ควบคุมเครื่องทอผ้าให้ทำตามแบบที่กำหนดไว้และแบบดังกล่าวสามารถนำมา สร้างซ้ำๆ ได้อีกหลายครั้ง ความพยายามของ Jacquard สำเร็จลงใน พ.ศ. 2348 เครื่องทอผ้านี้ถือว่าเป็น เครื่องทำงานตามโปรแกรมคำสั่งเป็นเครื่องแรก
   พ.ศ. 2373 Chales Babbage ถือกำเนิดที่ประเทศอังกฤษ เมื่อ พ.ศ. 2334 จบการศึกษาทางด้านคณิตศาสตร์ จากมหาวิทยาลัยแคมบริดจ์ในขณะที่กำลังศึกษาอยู่นั้น Babbage ได้สร้างเครื่อง หาผลต่าง (Difference Engine) ซึ่งเป็นเครื่องที่ใช้คำนวณ และพิมพ์ตารางทางคณิตศาสตร์อย่างอัตโนมัติ จนกระทั่งปี พ.ศ. 2373 เขาได้รับความช่วยเหลือจากรัฐบาลอังกฤษเพื่อสร้างเครื่อง Difference Engine ขึ้นมาจริงๆเช่นนี้จึงทำให้ Charles Babbage ได้รับการยกย่อง ให้เป็น บิดาของเครื่องคอมพิวเตอร์
    การกำเนิดของเครื่องคอมพิวเตอร์อิเล็กทรอนิกส์
ในยุคก่อนนั้นส่วนมากประกอบด้วยฟันเฟือง รอก คาน ซึ่งเป็นวัสดุ ที่มีขนาดใหญ่ และมีน้ำหนักมากและผิดพลาดอยู่เสมอดังนั้นในยุคต่อมาจึงพยายาม พัฒนาเครื่องมือ ให้มีขนาดเล็กลง แต่มีประสิทธิภาพสูงขึ้น
   ยุคที่1  พ.ศ.2489- 2501
เป็นการประดิษฐ์เครื่องคอมพิวเตอร์ที่มิใช่เครื่องคำนวณ โดยเมาช์ลีและเอ็กเคอร์ต ได้นำแนวความคิดนั้นมาประดิษฐ์เป็นเครื่องคอมพิวเตอร์ที่มีประสิทธิภาพมากเครื่องหนึ่งเรียกว่า ENIAC (Electronic Numericial Integrator and Calculator)ต่อมาได้ทำการปรับปรุงการทำงานของเครื่องคอมพิวเตอร์ให้มีประสิทธิภาพดียิ่งขึ้น และได้ประดิษฐ์เครื่อง UNIVAC (Universal Automatic Computer) ขึ้นเพื่อใช้ในการสำรวจสำมะโนประชากรประจำปี
UNIVAC เป็นเครื่องคอมพิวเตอร์เครื่องแรกของโลกที่ถูกใช้งานในเชิงธุรกิจ ซึ่งนับเป็นการเริ่มของเครื่องคอมพิวเตอร์ในยุคแรกอย่างแท้จริงคอมพิวเตอร์ในยุคนี้ใช้หลอดสุญญากาศในการควบคุมการทำงานของเครื่อง ซึ่งทำงานได้อย่างรวดเร็ว แต่มีขนาดใหญ่มากและราคาแพงยุคแรกของคอมพิวเตอร์สิ้นสุดเมื่อมีผู้ประดิษฐ์ทรานซิสเตอร์มาใช้แทนหลอดสูญญากาศ



    ยุคที่2 พ.ศ. 2502 -2506
มีการนำทรานซิสเตอร์ มาใช้ในเครื่องคอมพิวเตอร์จึงทำให้เครื่องมีขนาดเล็กลง และสามารถเพิ่มประสิทธิภาพในการทำงานให้มีความรวดเร็วและแม่นยำมากยิ่งขึ้น นอกจากนี้ ในยุคนี้ยังได้มีการคิดภาษาเพื่อใช้กับเครื่องคอมพิวเตอร์เช่น ภาษาฟอร์แทน (FORTRAN) จึงทำให้ง่ายต่อการเขียนโปรแกรม



   ยุคที่ 3 พ.ศ.2507 -2512
คอมพิวเตอร์ในยุคนี้เริ่มต้นภายหลังจากการใช้ทรานซิสเตอร์ได้เพียง 5 ปี เนื่องจากได้มีการประดิษฐ์คิดค้นเกี่ยวกับวงจรรวม(Integrated-Circuit) หรือเรียกกันย่อๆ ว่า "ไอซี" (IC) ซึ่งไอซีนี้ทำให้ส่วนประกอบและวงจรต่างๆ สามารถวางลงได้บนแผ่นชิปจึงมีการนำเอาแผ่นชิปมาใช้แทนทรานซิสเตอร์ทำให้ประหยัดเนื้อที่ได้มาก     



    ยุคที่4  พ.ศ. 2513-2532
เป็นยุคที่นำสารกึ่งตัวนำมาสร้างเป็นวงจรรวมความจุสูงมาก ซึ่งสามารถย่อส่วนไอซีธรรมดาหลายๆ วงจรเข้ามาในวงจรเดียวกัน และมีการประดิษฐ์ ไมโครโพรเซสเซอร์ขึ้น ทำให้เครื่องมีขนาดเล็ก ราคาถูกลง และมีความสามารถในการทำงานสูงและรวดเร็วมาก จึงทำให้มีคอมพิวเตอร์ส่วนบุคคล (Personal Computer) ถือกำเนิดขึ้นมาในยุคนี้

     ยุคที่ 5 พ.ศ. 2533-ปัจจุบัน
มีการพัฒนาสร้างเครื่องคอมพิวเตอร์แบบพกพาขนาดเล็กขนาดเล็ก (Portable Computer) ขึ้นใช้งานในยุคนี้การวิจัยและพัฒนาเกี่ยวกับ ปัญญาประดิษฐ์ (Artificial Intelligence : AI) เป็นหัวใจของการพัฒนาระบบคอมพิวเตอร์ในยุคนี้ โดยหวังให้ระบบคอมพิวเตอร์มีความรู้ สามารถวิเคราะห์ปัญหาด้วยเหตุผล


 
   องค์ประกอบของระบบปัญญาประดิษฐ์ ประกอบด้วย 4 หัวข้อ ได้แก่
1. ระบบหุ่นยนต์ หรือแขนกล (Robotics or Robotarm System)
คือหุ่นจำลองร่างกายมนุษย์ที่ควบคุมการทำงานด้วยเครื่องคอมพิวเตอร์เพื่อให้ทำงานแทนมนุษย์ในงานที่ต้องการความเร็ว หรือเสี่ยงอันตราย
2. ระบบประมวลภาษาพูด (Natural Language Processing System)
คือ การพัฒนาให้ระบบคอมพิวเตอร์สามารถสังเคราะห์เสียงที่มีอยู่ในธรรมชาติ (Synthesize) เพื่อสื่อความหมายกับมนุษย์
3. การรู้จำเสียงพูด (Speech Recognition System)
คือ การพัฒนาให้ระบบคอมพิวเตอร์เข้าใจภาษามนุษย์ และสามารถจดจำคำพูดของมนุษย์ได้อย่างต่อเนื่อง
4. ระบบผู้เชี่ยวชาญ (Expert System)
คือ การพัฒนาให้ระบบคอมพิวเตอร์มีความรู้ รู้จักใช้เหตุผลในการวิเคราะห์ปัญหา โดยใช้ความรู้ที่มี หรือจากประสบการณ์ในการแก้ปัญหาหนึ่ง ไปแก้ไขปัญหาอื่นอย่างมีเหตุผล ระบบนี้จำเป็นต้องอาศัยฐานข้อมูล (Database) ซึ่งมนุษย์ผู้มีความรู้ความสามารถเป็นผู้กำหนดองค์ความรู้ไว้ในฐานข้อมูลดังกล่าว เพื่อให้ระบบคอมพิวเตอร์สามารถวิเคราะห์ปัญหาต่างๆ ได้

คำถาม
1.คอมพิวเตอร์มีกี่ยุค
2.ยุคใดทีมีการนำทรานซิสเตอร์มาใช้
3.ยุคใดที่มีการพัฒนาสร้างคอมพิวเตอร์แบบพกพาขนาดเล็ก